เมนู

อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺฐํ สมฺปยุตฺตํ
(สุขนี้ สหรคตแล้ว เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกัน สัมปยุตกันด้วยปีตินี้)
สังสัฏฐศัพท์ในที่แม้นี้ ประสงค์เอาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน (สหชาตะ)
ก็ในอรรถเหล่านั้น ธรรมที่สหรคต ชื่อว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน
ไม่สัมปยุตกัน ย่อมไม่มี แต่ว่า ธรรมที่เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน สัมปยุต
กัน มีบ้าง ไม่มีบ้าง. จริงอยู่ เมื่อรูปธรรมกับอรูปธรรมเกิดพร้อมกัน รูปย่อม
เกิดพร้อมกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน อรูปก็เหมือนกัน
เกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน และรูปเกิดพร้อมกับรูป
ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน. ส่วนอรูปโดยแน่นอนทีเดียวเกิดพร้อมกัน
เกี่ยวข้องกัน สัมปยุตกันกับอรูปทีเดียว เพราะฉะนั้น ทรงหมายเอาการเกิด
พร้อมกันนั้น จึงตรัสคำว่า โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้.

อธิบายคำว่าญาณสัมปยุต



บทว่า ญาณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า สัมปยุตด้วยญาณ อธิบายว่า
ประกอบด้วยอาการมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเสมอกัน. ก็คำใดที่ควรกล่าวใน
ญาณสัมปยุตนี้ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในเวทนาติกะในการพรรณนา
บทมาติกานั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ญาณนั้นสัมปยุตด้วย
ลักษณะนี้ คือ เกิดพร้อมกัน (เอกุปฺปาทา) ดับพร้อมกัน (เอกนิโรธา)
มีวัตถุเดียวกัน (เอกวตฺถุกา) มีอารมณ์เดียวกัน (เอการมฺมณา).
ส่วนนิทเทส (การชี้แจง) โดยอุกฤษฏ์มีดังนี้
ก็ในอรูป แม้เว้นความมีวัตถุเป็นอันเดียวกัน ก็ได้สัมปโยคะ
ถามว่า ด้วยคำมีเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร ?